วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

นายธนภัทร ปรีชานุกูล


สาระสำคัญ
รูปแบบการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก เครื่องหมายในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ประเภทของคำสั่งในภาษาเบสิก
จุดประสงค์ปลายทาง
เข้าใจรูปแบบ ประเภทคำสั่งและเครื่องหมายที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมได้
จุดประสงค์นำทาง
1. อธิบายรูปแบบของคำสั่งในการเขียนโปรแกรมได้
2. อธิบายวิธีการและคำสั่งการเขียนโปรแกรมได้
3. นักเรียนสามารถเลือกใช้คำสั่งในการเขียนโปรแกรมได้ถูกต้อง
เนื้อหา
โปรแกรมภาษาเบสิก จัดเป็นภาษาโปรแกรมระดับสูง แต่เป็นภาษาที่มีเทคนิควิธีการและรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายไม่ซับซ้อน จึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม ซึ่งองค์ประกอบในการเขียนโปรแกรมจะประกอบด้วย
1. ค่าคงที่ (Constants)
2. ตัวแปร (Variable)
3. นิพจน์ (Expression)
แต่องค์ประกอบของโปรแกรมที่สำคัญยังต้องประกอบไปด้วย รูปแบบในการเขียนโปรแกรมและคำสั่ง เฉพาะสำหรับการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา ซึ่งรูปแบบและคำสั่งของโปรแกรมภาษาเบสิกก็จะมีรูปแบบเฉพาะเป็นของตนเองเช่นกัน
รูปแบบการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก
การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกจะมีรูปแบบเป็นของตนเอง ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างง่ายต่อการเข้าใจ เนื่องจากลักษณะการใช้ตัวอักษรและอักขระที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจการทำงานของโปรแกรมได้ รูปแบบการเขียนได้แก่
1. การเขียนโปรแกรมแบบมีหมายเลขบรรทัด (Line Number) ใช้หมายเลขสำหรับกำหนดลำดับของคำสั่ง โดยใช้หมายเลขกำกับหน้าคำสั่งในแต่ละบรรทัด เช่น
10 LET A = 10
20 LET B = 5
30 LET C = A+B
2. สำหรับการพิมพ์บรรทัด จะพิมพ์บรรทัดใดก่อนก็ได้ เครื่องจะทำงานเรียงหมายเลขบรรทัดจากน้อยไปหาหมายเลขบรรทัดมาก ในกรณีหมายเลขซ้ำกันโปรแกรมจะถือเอาคำสั่งในหมายเลขที่พิมพ์หลังสุด
3. การทำงานของโปรแกรมจะทำงานตามหมายเลขบรรทัด โดยจะทำงานจากหมายเลขบรรทัดน้อยไปหามาก
4. กรณีที่กำหนดหมายเลขบรรทัดในโปรแกรม จะต้องกำหนดหมายเลขให้มีระยะห่างกันพอสมควรเพื่อที่จะแทรกหมายเลขเพิ่มเติม
5. การเขียนโปรแกรมจะกำหนดให้เป็นตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ก็ได้ ซึ่งโปรแกรมจะเปลี่ยนให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่โดยอัตโนมัติ
6. การทำงานของคำสั่งโปรแกรมจะทำจากซ้ายไปขวา
7. การเขียนโปรแกรมสามารถรวมคำสั่งหลายคำสั่งเอาไว้บรรทัดเดียวกันได้ โดยการใช้เครื่องหมาย (;)
เครื่องหมายในการเขียนโปรแกรม
1. เครื่องหมายโคลอน (Colon) เป็นเครื่องหมายสำหรับการเชื่อมคำสั่งซึ่งเราได้ทำหลาย ๆ คำสั่งต่อกัน
2. เครื่องหมายจุลภาคหรือคอมมา (Comma “,”) ในกรณีคำสั่ง PRINT เป็นการสั่งแบ่งระยะโดยจะทำให้ระยะระหว่างข้อมูลที่จะแสดงผลที่จอภาพถูกจัดแบ่งเป็นระยะเท่า ๆ กัน
3. เครื่องหมายอัฒภาค หรือ เซมิโคลอน (Semicolon “;”) เมื่อแสดงผลที่จอภาพข้อมูลจะถูกพิมพ์ต่อเนื่องกัน
ประเภทคำสั่งในภาษาเบสิก
1. คำสั่งสำหรับรับและส่งข้อมูล 
คือ กลุ่มคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อรับข้อมูลเข้าไปทำการประมวลผลในโปรแกรมและกลุ่มคำสั่งที่สั่งให้โปรแกรมแสดงผลที่อุปกรณ์ประกอบคำสั่งเหล่านี้ได้แก่
1.1 คำสั่ง INPUT เป็นคำสั่งที่รับข้อมูลโดยการป้อนผ่านแป้นพิมพ์ เพื่อให้โปรแกรมรับทราบว่าใส่ข้อมูลใด เมื่อเวลาแสดงผลจะแสดงเครื่องหมายคำถาม เพื่อป้อนข้อมูลที่ต้องการต่อท้ายเครื่องหมายคำถาม
1.2 คำสั่ง PRINT เป็นคำสั่งในภาษาเบสิก เพื่อแสดงผลของข้อมูลที่โปรแกรมสั่งให้ทำงานออกทางจอภาพ
1.3 คำสั่ง LPRINT เป็นคำสั่งในภาษาเบสิก ที่แสดงผลของข้อมูลที่โปรแกรมสั่งออกทางเครื่องพิมพ์
2. คำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดค่าให้กับตัวแปรและการตั้งสมการคำนวณ
2.1 คำสั่ง LET เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดค่าคงที่ให้กับ ไม่ว่าเป็นตัวแปรแบบอักขระหรือตัวแปรแบบตัวเลข และใช้ตั้งสมการทางคณิตศาสตร์
3. คำสั่งในการคำนวณ
ลักษณะของคำสั่งประเภทนี้จะอยู่ในรูปของเครื่องหมาย แสดงแทนเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ จะใช้ประกอบกับคำสั่งประเภทอื่น ๆ 
4. คำสั่งสำหรับการควบคุม

ลักษณะของคำสั่งในการควบคุม เป็นการสั่งในแบบกำหนดเงื่อนไข และแบบไม่มีเงื่อนไขรวมถึงคำสั่งควบคุมการวนซ้ำ
4.1 คำสั่งแบบมีเงื่อนไข ได้แก่ IF/THEN/ELSE DO..LOOP WHILE..WEND
4.2 คำสั่งแบบไม่มีเงื่อนไข ได้แก่ GO,GOSUB
1.3 คำสั่งควบคุมการวนซ้ำ คือ คำสั่งที่ควบคุมการกระทำซ้ำ ได้แก่ FOR/NEXT
5. คำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบ
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดการวางรูปแบบของการแสดงผลโปรแกรม บางครั้งก็จะอยู่ในรูปเครื่องหมาย ใช้ร่วมกับคำสั่งทั่วไป
6. คำสั่งฟังก์ชัน
เป็นกลุ่มคำสั่งประเภทหนุ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ โดยคำสั่งประเภทนี้จะมีค่าฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
7. คำสั่งทั่วไป
NEW เป็นคำสั่งลบโปรแกรมและค่าตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ โดยจะลบหล้าจอทั้งหมดก่อนที่จะเขียนโปรแกรมใหม่
REM เป็นคำสั่งที่ใช้ในการหมายเหตุ
END เป็นคำสั่งให้หยุดการทำงานของโปรแกรม
CLS เป็นคำสั่งให้ลบหน้าจอใหม่ โดยไม่แสดงผลเดิม

กิจกรรมประกอบการเรียน

1. ให้นักเรียนศึกษารวบรวมคำสั่งประเภทต่าง ๆ สำหรับโปรแกรม BASIC ตั้งแต่ A – Z โดยดูจากเมนูหลัก HELP ในเมนูย่อย CONTENT จากนั้นบอกว่าเป็นคำสั่งในกลุ่มใด ได้แก่
1.1 STATEMENT
1.2 FUNCTION
1.3 KEYWORD
1.4 OPERATION
1.5 MATACOMMAND
2. ให้นักเรียนแยกประเภทของคำสั่งเฉพาะกลุ่มที่เป็น FUNCTION และกลุ่มที่เป็น STATEMENT
3. ให้นักเรียนเข้าไปยัง HELP ของ BASIC เข้าไปยัง CONTENT จากนั้นเลื่อน CURSOR ไปยังคำสั่งต่าง ๆ กด ENTET จะพบคำอธิบายคำสั่งเป็นภาษาอังกฤษ แบ่งคำสั่งประเภทต่าง ๆ นำไปแปลคนละอย่างน้อย 5 คำสั่ง

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิธีใช้หรือสมัคร blogger

การสมัคร Blogger

สิ่งแรกที่ต้องมีในการสมัคร Blogger คือ E-mail ของ Gmail เท่านั้นครับ ซึ่งในส่วนของการสมัคร E-mail คงจะนำมาสอนเป็นขั้นเป็นตอนเพราะมันง่ายมากครับ


เพื่อนๆที่สมัคร Gmail เรียบร้อยแล้ว สามารถทำตามวิธีดังต่อไปนี้เลยครับในการสมัคร Blogger มาใช้งานกัน
1. สามารถเปลี่ยนภาษาทางด้าน ขวาบน ได้หลากภาษาครับ จากนั้นคลิ๊กที่สร้างบล๊อกดังรูปครับ


2. ตั้งชื่อส่วนหัวของบล๊อก ตั้งชื่อบล๊อก จากนั้นก็ คลิ๊กดำเนิกการต่อ
ดังรูปครับ


3. เลือกแม่แบบ หรือ Theme (หน้าตาบล๊อก) จากนั้น คลิ๊ก ดำเนินการต่อ
ดังรูปครับ


4. เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ คลิ๊ก เริ่มต้นการเขียนบล๊อก ได้ทันทีเลย
ดังรูปครับ


ง่ายมากๆ เลยใช่ไหมครับ ก่อนที่เพื่อนๆจะเริ่มเขียนบล๊อก ผมแนะนำให้เพื่อนๆศึกษาการใช้งานให้เข้าใจก่อนนะครับ เพื่อทำความเข้าใจและเริ่มต้นสร้างบล๊อกได้อย่างไม่ติดขัดครับ สิ่งที่เพื่อนๆจะต้องศึกษามีดังนี้ครับ อ่านต่อ เรื่องแผงควบคุม (Dashboard)

Control Panel Windows7

Control Panel Windows 7

Control Panel

control-panel
 
ข้ามมาที่ฟีเจอร์คู่บุญของวินโดวส์อย่าง Control Panel กันบ้าง ช่วงหลังๆ (ถ้าจำไม่ผิดตั้งแต่ XP) ไมโครซอฟท์หันมาเรียงตัวเลือกใน Control Panel ตามหมวดหมู่ ผลที่ตามมาคือ "หาอะไรไม่ค่อยเจอ" ซึ่ง Windows 7 ก็มีชะตากรรมไม่ต่างกันสักเท่าไร

control-panel-small-icon
 
หลายคนแก้ปัญหาโดยการปรับให้มันแสดงแบบไอคอน แต่หลังๆ นี่คงไม่ไหวแล้วมั้ง ตอนนี้ Control Panel ของ Windows 7 มีตัวเลือกเกือบ 50 อัน เรียงยังไงก็คงดูยาก

control-panel-search
 
ทางแก้คือ search มันเลยครับ เดี๋ยวนี้เขาพัฒนาแล้ว หาอะไรก็เจอ จากภาพจะเห็นว่าผลการค้นหาไม่ได้แสดงเฉพาะไอคอน แต่แสดงตัวเลือกที่อยู่ในไอคอนแต่ละอันของ Control Panel ให้ด้วย
ฟีเจอร์นี้คู่แข่งอย่าง Mac OS X ทำได้ใน 10.4 Tiger พร้อมกับฟีเจอร์ Spotlight ฝั่งวินโดวส์เริ่มทำได้ตอน Vista ตอนแรกยังไม่สมบูรณ์ทั้งคู่ (ค้นไม่ค่อยเจอ, ช้า) แต่ตอนนี้เข้าสู่สถานะที่ใช้งานได้จริงแล้ว
Control Panel ของ Windows 7 เพิ่มตัวเลือกใหม่ๆ ให้อีกหลายอัน เช่น Location and Other Sensors, Credential Manager, Biometric Devices ซึ่งผมคงไม่กล่าวถึงในรีวิวชุดนี้

วิธีใช้Control panel

Control Panel Windows XP

ปัญหาหลัก ๆ ที่มีถามกันมาก สำหรับผู้ใช้งาน Windows XP ก็คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถใช้งานปุ่ม Grave Accent ( ` ) หรือปุ่ม ตัวหนอน ( ~ ) ในการสลับภาษา ไทย - อังกฤษ ได้ หลังจากที่ได้ทำการติดตั้ง Windows XP เรียบร้อยแล้ว มาดูขั้นตอนการตั้งค่าให้สามารถใช้ปุ่มสลับภาษากันดีกว่า
เริ่มต้นการตั้งค่า ก่อนอื่น คุณจะต้องมีแผ่นซีดีติดตั้ง Windows XP ใส่เข้าไปใน CD-ROM Drive ก่อนนะคะ เพราะจะต้องใช้ ในการเพิ่มภาษา และการกำหนดให้ใช้ปุ่ม ( ~ ) ในการสลับภาษาคะ เมื่อเปิดเครื่องเข้า Windows XP เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเปิด Control Panel โดยเลือกที่ Start Menu และ Control Panel
 ทำการดับเบิลคลิกที่ Regional and Language Options เพื่อตั้งค่าและเลือกภาษาของเครื่อง
คลิกที่ป้าย Languages และติกถูกที่ช่อง Install files for complex... ตามภาพข้างบนค่ะ จากนั้นกดที่ปุ่ม Apply
ระบบจะทำการ copy ข้อมูลจากแผ่นติดตั้ง Windows XP (ต้องใส่แผ่นติดตั้ง Windows XP ไว้ด้วยนะคะ)่
รอสักพักจนเสร็จ จากนั้นก็ทำการ Restart เครื่องใหม่อีกครั้ง กดที่ Yes เพื่อ Restart เครื่องใหม่ก่อน
หลังจากที่ Restart เครื่องมาแล้ว ก็เข้า Control Panel และ Regional and Language Options เหมือนขั้นตอนแรก ทำการเปลี่ยนช่อง Location และ Standard and format ให้เป็น Thailand กับ Thai ตามภาพข้างบน แล้วกดที่ปุ่ม Apply
เลือกที่ป้าย Advanced เปลี่ยนที่ช่อง Language for non-Unicode programs ให้เป็น Thai แล้วกด Apply
  คลิกที่ป้าย Languages อีกครั้ง แล้วกดเลือกที่ปุ่ม Details... ค่ะ
จะเห็นว่ามีภาษาเป็น 2 ภาษา กดเลือกที่ปุ่ม Key Settings...
กดที่ปุ่ม Change Key Sequence... เพื่อเลือกให้ใช้ปุ่ม Grave Accent ค่ะ
เลือกที่ Grave Accent ( ` ) แล้วกด OK กลับไปหน้าหลัก จากนั้นก็กด OK OK OK ไปเรื่อย ๆ เท่านี้ก็เสร็จขั้นตอนของการ ตั้งค่าให้ใช้ปุ่ม Grave Accent สำหรับเปลี่ยนสลับภาษาค่ะ

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรียนรู้เทคนิคการใช้งานWindows7 เบื้องต้น

เรียนรู้เทคนิคการใช้งาน Windows 7 ให้ง่ายขึ้น

 
ในที่สุดการรอคอยก็ใกล้จะถึงจุดหมายแล้ว สำหรับ Windows 7 ที่หมายว่าจะสร้างความนิยมให้กับผู้ใช้ได้ หลังจากที่เราผิดหวังจาก Windows Vista กันมาแล้ว ซึ่ง Windows 7 นั้น นอกจากมีความสวยงามน่าใช้ไม่แตกต่างไปจาก Vista แล้ว ยังใช้งานได้ดี ไม่แพ้กับ Windows XP เลย เรียกว่าหากได้ใช้ Windows 7 แล้ว คุณจะไม่อยากกลับไปใช้ Windows XP อีกเลย
ดูจากรูปเราจะเห็นว่า Windows 7 แม้จะพัฒนาต่อยอดมาจาก Windows Vista แต่หน้าตาก็มีการปรับเปลี่ยนไปบ้างพอสมควร แม้จะใช้งานได้ไม่ยาก แต่ก็ต้องปรับตัวกันนิดหน่อยเพื่อให้สามารถใช้งาน Windows 7 ได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่วนประกอบที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือส่วนของทาสก์บาร์ ที่ปรับปรุงให้เรียกใช้โปรแกรมได้ง่ายขึ้น มีการตัดทอนบางฟังก์ชั่นออกไป เช่น Quick Launch
WIndows7_desktop
ส่วนของซิสเท็มบาร์ที่ถูกซ่อนเอาไว้ไม่ให้แสดงผลเกะกะบนหน้าจอ รวมทั้งแถบของ Gadget ที่หายไป โดยเราสามารถเรียก Gadget ขึ้นมา และวางไว้ตรงไหนก็ได้ของหน้าจอ โดยไม่กินพื้นที่เหมือนกับ Gadget Bar ในWindows Vista อีก แน่นอนว่าเมื่อเวอร์ชันใหม่ออกมา ก็ต้องมีความสามารถใหม่ๆ ตามมาด้วย และนี่คือทิปที่จะช่วยให้คุณใช้งาน Windows? 7 ได้ง่ายและสะดวกขึ้น พร้อมกับสามารถปรับแต่งหน้าตาอินเทอร์เฟสต่างๆ ได้ตามต้องการ

สร้างแผ่นสำหรับแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์

คงบอกว่าหากวันใดวันหนึ่ง Windows ของคุณเกิดปัญหาขึ้น จะทำให้คุณต้องยุ่งยากขนาดไหน ดังนั้นเราควรที่จะสร้างหนทางสำหรับที่จะทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น โดยการสร้างแผ่นบู๊ตยามฉุกเฉินเอาไว้ก่อน โดยหลังจากที่ติดตั้ง Windows เสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ก็ให้เราเตรียมแผ่นดิสก์เปล่าๆเอาไว้ก่อน จากนั้นคลิกที่ Start > Maintenance > Create a System Repair Disc และใส่แผ่นดิสก์เปล่าลงไป และให้ Windows 7 สร้างแผ่นบู๊ตยามฉุกเฉินเอาไว้ก่อน ทีนี้ หาก Windows มีปัญหาในการทำงานเกิดขึ้น เราก็สามารถใช้แผ่นดิสก์นี้บู๊ต เพื่อแก้ไขปัญหา
Create_emergency_Disc

เขียนแผ่นซีดีและวิดีโอจาก ISO ไฟล์ โดยไม่ต้องลงโปรแกรมเบิร์น

คุณสมบัติอย่างหนึ่งของ Windows 7 ก็คือเราสามารถสร้างเบิร์นแผ่นดีวีดีหรือซีดีได้ โดยไม่ต้องลงโปรแกรมเขียนแผ่นดิสก์ลงไปก่อน ซึ่งช่วยให้สะดวกขึ้น หากว่ามีแผ่นโปรแกรมในรูปแบบของไฟล์ ISO อยู่ในเครื่องอยู่แล้ว ก็สามารถคลิกที่ไฟล์ ISO นั้นแล้วเลือกไดรว์ที่จะเขียน พร้อมกับใส่แผ่นดิสก์เปล่าลงไป เท่านี้ Windows ก็จะพร้อมที่จะสร้างแผ่นดิสก์จาก ISO ไฟล์ได้เลย

แก้ไขปัญหาใน Windows 7 ให้รวดเร็ว

เวลาเกิดปัญหากับการใช้งาน Windows คงไม่ต้องบอกว่ามันยุ่งยากขนาดไหน เพราะเราไม่รู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากอะไรและจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆนั้นอย่างไรได้บ้าง แต่สำหรับ Windows 7 แล้ว มีเครื่องมือที่จะช่วยให้เราสามารถค้นหาปัญหา และแก้ไขได้ด้วยตัวเองก่อนที่จะต้องส่งให้ผู้เชี่ยวชาญต่อไป โดยเราสามารถเข้าถึงการตรวจสอบปัญหาต่างๆ ได้จากการเลือกที่ Control Panel > Troubleshoot Problems ซึ่งจะมีวิซาร์ด ช่วยในการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น และวิธีการแก้ไข รวมทั้งยังเป็นการเช็คอัพระบบ และกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับการทำงานของคุณได้
Troubles_Shooting

ซ่อนไอคอนของ Windows Live Messenger

ถ้าคุณเป็นอีกคนหนึ่ง ที่ต้องใช้ Windows Live Messenger เป็นประจำบน Windows 7 คุณจะพบว่าเมื่อเปิด Windows Live Messenger มันจะแสดงการทำงานค้างไว้บนทาสก์บาร์ให้เกะกะ ซึ่งหากคุณไม่ชอบใจ ก็สามารถซ่อนการทำงานของ Windows Live Messenger เอาไว้ได้ โดยก่อนอื่นต้องคลิกขวา เลือกที่ไอคอนของ Windows Live Messenger จากนั้นเลือกที่ Properties แล้ว กำหนดให้แอพพลิเคชั่น ทำงานในโหมดของ Windows Vista Compatibility จากนั้นก็เปิดการทำงานของ Windows Live ขึ้นมาอีกครั้ง คราวนี้โปรแกรม Messenger จะถูกซ่อนการทำงานเอาไว้ ไม่โผล่มาให้เกะกะบนทาสก์บาร์อีก

เพิ่มพื้นที่การใช้งานให้กับเดสก์ท็อป

ใน Windows 7 เราจะพบว่าทาสก์บาร์นั้นมีขนาดที่ใหญ่มาก ซึ่งอาจจะกินพื้นที่บางส่วนของเดสก์ท็อปไปอย่างมาก รวมทั้งไอคอนต่างๆ ทำให้พื้นที่สำหรับแอพพลิเคชั่นต่างๆ นั้น วางได้ไม่เยอะ ซึ่งเราสามารถที่จะปรับขนาดของไอคอนบนเดสก์ท็อปให้เล็กลงได้ โดยคลิกขวาที่ทาสก์บาร์ จากนั้นเลือกที่ Properties > Taskbar > Use small icons เพื่อที่จะให้ไอคอนบนทาสก์บาร์เล็กลง และเราก็จะได้พื้นที่ใช้งานบนเดสก์ท็อปนั้นเพิ่มขึ้น

เพิ่ม Quick Launch ให้กับทาสก์บาร์

ด้วยการมี Launch ที่สามารถเรียกโปรแกรมต่างๆ ขึ้นมาให้แล้ว ทำให้ Quick Launch เดิมที่มาพร้อมกับ Windows ก่อนหน้านี้ ถูกตัดออกไป แต่เราก็สามารถเปิดการทำงานของ Quick Launch ขึ้นมาได้ โดยให้คลิกขวาที่ทาสก์บาร์ จากนั้นเลือกที่ Toolbars/ New Tools Bar ก็จะปรากฏหน้าต่าง Folder Selection dialog ขึ้นมา ให้พิมพ์ข้อความตามนี้ลงไป %userprofile%\AppData\Roaming\Microsoft\Internet Explorer\Quick Launch แล้วคลิกที่ OK ก็จะมีแถบของ Quick Launch ปรากฏขึ้นที่ทาสก์บาร์ แต่ตอนนี้ Quick Launch จะดูเหมือนว่าไม่ปรากฏออกมาเพราะมีแถบข้อความ และคำอธิบายเต็มไปหมด ให้คลิกขวาที่ Quick Launch แล้วเอาเช็คบ็อกซ์ตรง lock the taskbar ออก แล้วคลิกขวาอีกครั้งที่ Quick Launch และให้นำเช็คสบ็อกซ์ หน้าข้อความ show Text และ Show Titles ออกไป ที่นี้เราก็สามารถลากไอคอนชอร์ตคัทของโปรแกรมต่างๆ ที่ต้องการ นำมาวางไว้ตรง Quick Launch นี้ได้ และเมื่อเป็นที่พอใจแล้ว ก็ให้คลิกขวาที่ทาสก์บาร์ พร้อมกับล็อคทาสก์บาร์เอาไว้ให้เรียบร้อย
QuickLuanch

เปลี่ยนการทำงานให้กับเพาเวอร์สวิทช์

ปกติหน้าที่ของเพาเวอร์สวิทช์ ก็คือการเปิดเครื่อง แต่ขณะที่คอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ล่ะ จะให้มันทำหน้าที่เป็นอะไร ในWindows 7 เราสามารถกำหนดการทำงานให้กับเพาเวอร์สวิทช์ได้ โดยคลิกขวาที่ไอคอน Windows มุมล่างซ้าย แล้วเลือกที่ properties จากนั้น คลิกที่แท็บ Start Menu แล้วตรง power button action ก็กำหนดหน้าที่ที่ต้องการให้กับปุ่มเพาเวอร์ได้ ทั้งการชัตดาวน์ รีสตาร์ท หรือล็อคเครื่องก็ได้เช่นกัน
Power Button Option

ควบคุมการทำงานบน Windows ด้วยปุ่ม Windows คีย์

หากคุณต้องการปรับการแสดงผลขณะทำงานบน Windows 7 เพื่อให้สะดวกขึ้น เราสามารถใช้ปุ่ม windows คีย์ เพื่อเป็นคีย์ลัดในการจัดการการแสดงผลของหน้าต่างบน Windows ได้ ไม่ว่าจะเป็นการย่อขยาย จัดการแสดงผลให้เต็มหน้าจอ หรือย่อทั้งหมดลงมา หรือเรียกการทำงานของหน้าต่างที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น ซึ่งคีย์ลัดนี้ เราสามารถทำงานกับ Windows ได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยสามารถแบ่งการทำงานที่ต้องใช้ร่วมกับปุ่ม Windows คีย์ได้ดังนี้
  • ปรับขนาดของหน้าต่างให้ตรงกับความต้องการ
-?? ?เราสามารถใช้ปุ่ม Windows คีย์ ร่วมกับปุ่มลูกศร เพื่อปรับขนาดของ Windows ได้ตามต้องการ เช่น
-?? ?Win + ลูกศรขึ้น และ Win+ ลูกศรลง? เป็นการขยายขนาดของหน้าต่างให้เต็มหน้าจอ และย่อขนาดกลับลงมาเท่าเดิม
-?? ?Win + ลูกศรซ้าย และ Win + ลูกศรขวา เป็นการกำหนดตำแหน่งของการแสดงผลอยู่ทางครึ่งของหน้าจอทางซ้ายมือหรือว่าขวามือ
-?? ?Win + Shift +ลูกศรขึ้น และ Win+Shift+ ลูกศรลง? เป็นการขยายขนาดของหน้าต่างให้เต็มหน้าจอทางด้านแนวตั้ง และย่อขนาดกลับลงมาเท่าเดิม
  • แสดงผลออกโปรเจ็คเตอร์

หมดปัญหากับการที่ต้องควานหาปุ่ม เพื่อเลือกการแสดง หากต้องการต่อกับโปรเจ็คเตอร์หรือมอนิเตอร์ภายนอก เพราะเพียงแค่ใช้คีย์ Win + P ก็จะเป็นการเลือกการแสดงที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลเฉพาะหน้าจอหลัก การแสดงผลหน้าจอทั้งสองให้เหมือนๆกัน การแสดงแบบบนจอที่สองแบบ extend และการแสดงผลเฉพาะจอที่สองเพียงอย่างเดียว
แต่หากว่าคุณต้องการแสดงผลเฉพาะพรีเซนเทชั่น เพื่อออกไปทางโปรเจ็คเตอร์ คงไม่อยากให้การแสดงผลบนหน้าจอถูกขัดจังหวะด้วยสกรีนเซฟเวอร์ หรือว่าข้อความทาง IM ที่ส่งมาให้คุณ เราสามารถใช้ปุ่ม Win+X เพื่อกำหนดการแสดงผลเฉพาะพรีเซนเทชั่นได้ เท่านี้เวลาข้อความทาง IM ส่งเข้ามาหรือว่าสกรีนเซฟเวอร์ทำงาน ก็จะไม่มีผลต่อการแสดงผลบนหน้าจอโปรเจ็คเตอร์อีก
  • ย่อหน้าต่างให้เลือกเฉพาะที่ใช้งานปัจจุบัน

เราสามารถย่อหน้าต่างอื่นๆที่ไม่ได้ใช้งาน ให้ลงไปอยู่บนทาสก์บาร์ได้ โดยกดคีย์ Win+ Home ซึ่งหน้าต่างอื่นๆที่เราไม่ได้ใช้งานอยู่ ก็จะถูกย่อลงเองโดยอัตโนมัติ และเมื่อกด Win+Home อีกครั้ง ก็จะกลับมาแสดงผลตามปกติ
  • ทำงานแบบหลายมอนิเตอร์พร้อมๆ กัน

ถ้าคุณต่อมอนิเตอร์หลายๆตัวเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถเคลื่อนการทำงานจากมอนิเตอร์หนึ่งไปยังอีกมอนิเตอร์หนึ่งได้ โดยกดปุ่ม Win+shift+ปุ่มลูกศรซ้าย หรือขวา เพื่อเลื่อนการทำงานไปยังมอนิเตอร์ที่ต้องการได้
  • เรียกใช้โปรแกรมบนทาสก์บาร์ด้วยคีย์ลัด

ในทาสก์บาร์ของ Windows 7 จะมีการจัดเรียงโปรแกรมเอาไว้อยู่ และเราสามารถที่จะเรียกใช้แอพพลิเคชั่นเหล่านั้นได้โดยง่าย เพียงแค่เล็งไว้ว่าแอพพลิเคชั่นนั้นๆอยู่ตำแหน่งที่เท่าไหร่ นับจากปุ่มสตาร์ทเป็นต้นมา เราสามารถเรียกแอพพลิเคชั่นได้รวดเร็วขึ้น จากการที่กดคีย์ Win+คีย์ตัวเลข ก็จะเป็นการเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นลำดับตัวเลขนั้นขึ้นมาทันที
  • มองทะลุเดสก์ทอป

ใน Windows 7 มีฟังก์ชั่นบางตัวที่เรียกว่า? Gadget สำหรับบอกเวลา บอกวันที่ รวมถึงดูโน้ตต่างๆได้ ซึ่งปกติหากเราต้องการดูของต่างๆ ที่อยู่บนเดสก์ท็อป เราต้องย่อหน้าต่างลงมาทั้งหมดเสียก่อน แต่หากว่าเราต้องการแค่ดูเฉยๆโดยไม่ได้ทำอะไร Windows 7 ยอมให้คุณกดปุ่ม Win+Space เพื่อมองทะลุหน้าต่างทั้งหมดที่อยู่ ให้คุณมองเห็นเดสก์ท็อปได้
desktop-aero-peek
  • ท่องไปตามทาสก์บาร์

หากต้องการเรียกแอพพลิเคชั่นที่เปิดเอาไว้บนทาสก์บาร์อย่างรวดเร็ว เราสามารถใช้คีย์ Win+T เพื่อเลือกใช้งานโปรแกรมที่อยู่บนทาสก์บาร์ได้ โดยเลือกเป็นกลุ่มของแอพพลิเคชั่น เพื่อสามารถเลือกแอพพลิเคชั่นที่ต้องการได้สะดวกกว่า
desktop-taskbar
  • ขยายการมองเห็นให้กับ Windows

หากว่าคุณเป็นคนที่สายตาไม่ดี หรือมีปัญหากับการมองบางส่วนของภาพได้ไม่ชัดเจน Windows 7 ยอมให้เราสามารถซูมภาพเข้าไปได้ เพื่อมองบางส่วนในการแสดงผลให้ชัดเจนขึ้น โดยใช้คีย์ Win++ ก็จะเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น magnifier ในการขยายภาพทั้งหมดบนหน้าจอขึ้นมา และหากต้องการกลับสู่การแสดงผลปกติ ก็เพียงแค่ใช้คีย์ Win + -? ก็จะเป็นการย่อให้ Windows กลับมาแสดงผลเป็นปกติ เรียบร้อยเหมือนเดิม
  • เรียกใช้งาน Gadget ได้อย่างรวดเร็ว

Gadget บน Windows 7 ให้ประโยชน์ในการทำงานของเราได้อย่างมาก เช่น ปฏิทิน หรือว่านาฬิกา แต่ในขณะทำงานอยู่ มักจะไม่สะดวกที่จะต้องย่อหน้าต่างลงไป ซึ่งหากเราต้องการเรียกใช้งาน Gadget อย่างปัจจุบันทันด่วน เราสามารถเข้าถึง Gadget ได้อย่างรวดเร็วด้วยคีย์ Win+G เพื่อให้ Gadget ขึ้นมาอยู่บนท็อปของหน้าต่างการทำงานปัจจุบันได้ทันที
desktop-gadgets

ทำงานง่ายขึ้นด้วย ALT คีย์

ใน Windows 7 สามารถใช้งานคีย์ลัด เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียกใช้งาน Windows ได้อย่างมาก และ ALT ก็คือคีย์อเนกประสงค์อีกคีย์หนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้งานร่วมกับคีย์ต่างๆ เพื่อให้ทำงานร่วมกับ Windows ได้สะดวกขึ้น
เรียกใช้งานเมนูบาร์บน Explorer
ด้วยฟังก์ชั่นพิเศษที่ไมโครซอฟท์เห็นว่ามันอาจจะเกะกะ ก็เลยซ่อนเมนูบาร์ใน Explorer เอาไว้ซะ ทำให้การปรับแต่งการทำงานต่างๆนั้นอาจจะไม่สะดวก แต่เราสามารถเรียกเมนูบาร์ออกมาได้ง่ายๆ โดยกดปุ่ม alt หนึ่งครั้งก็จะเป็นการแสดงผลเมนูบาร์ขึ้นมา และเมนูบาร์นี้จะถูกซ่อนเอาไว้โดยอัตโนมัติ เมื่อเราไม่ได้ใช้งาน

เพิ่มขีดความสามารถในการใช้งาน Explorer

ใน Explorer ตัวล่าสุดของ Windows 7 เราสามารถใช้คีย์ลัด ALT ร่วมกับคีย์ต่างๆ เพื่อให้ใช้งาน Explorer ได้ง่ายขึ้น เช่น
เพิ่มขีดความสามารถในการใช้งาน-Explorer7
  • ALT+UP เป็นการกระโดดไปยังโฟลเดอร์แรกสุดคือ Desktop โดยอัตโนมัติ หรือย้อนกลับไปโฟลเดอร์รูท หากว่าเราทำงานอยู่ในโฟลเดอร์ย่อยๆ ของโฟลเดอร์รูทนั้น
  • ALT + Right คือการไล่สเต็ปไปยังโฟลเดอร์ ที่เปิดขึ้นมาล่าสุด
  • ALT + LEFT คือการย้อนกลับไปทำงานยังโฟลเดอร์ก่อนหน้าโฟลเดอร์ปัจจุบัน
  • ALT +D เป็นการทำงานกับแอดเดรสบาร์ของพาธ การทำงานปัจจุบัน
  • F4 เป็นการเรียกใช้งาน drop down menu ของแอดเดรสบาร์
  • ALT+ENTER เป็นการเรียก Properties ของไฟล์ที่เคอร์เซอร์กำลังถูกเลือกอยู่ในขณะนั้น
  • CTRL+mousewheel เป็นการเปลี่ยนขนาดของไอคอนใน explorer
  • F11 เป็นการเปลี่ยนโหมดของ explorerให้ทำงานในโหมด Full Screen

เรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นในโหมดของ Windows Compatibility เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมเก่าได้

ปัญหาใหญ่ๆของการใช้งาน Windows 7 ก็คือการทำงานร่วมกับแอพพลิเคชั่นเดิมๆ ที่เคยใช้งานได้ใน Windows XP หรือว่า Vista ซึ่งหากเราเรียกใช้งานตรงๆ อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้ Windows 7 จึงมีโหมดการทำงาน Windows Compatibility เพื่อให้นำแอพพลิเคชั่นเดิมๆที่สามารถเคยใช้งานได้ใน Windows XP หรือ Vista ให้ใช้งานได้บน Windows 7 โดยการคลิกขวาที่ไอคอนของแอพพลิเคชั่นนั้นๆ จากนั้นเลือกที่ Properties แล้วไปยังแท็บ compatibility mode และเลือก Run this program in compatibility mode for ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าให้แอพพลิเคชั่นตัวนั้น ทำงานในโหมดของ Windows เวอร์ชั่นไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น Windows XP หรือว่า Windows 95 ก็ยังไหว โดยในโหมด compatibility แนะนำว่าควรที่จะเลือก disable visual themes และ desktop composition เอาไว้ด้วย และหากว่าแอพพลิเคชั่นนั้นเป็นวิดีโอเกม ก็ควรที่จะเลือก Run this program as an administrator เอาไว้ด้วย เพื่อที่ Windows 7 จะไม่ตั้งคำถามสำหรับคุณอีก
Program Compatibility

ใช้งาน Sticky Notes เพื่อเตือนความจำ

แอพพลิเคชั่นหลายๆ ตัวได้ถูกเติมเต็มเข้ามาใน Windows 7 นี้ เพื่อให้การทำงานของผู้ใช้นั้นง่ายขึ้น โดยไม่ต้องไปหาโปรแกรมอื่นๆมาติดตั้งให้ยุ่งยากอีก เช่น Sticky Notes หรือ กระดาษเตือนความจำ ซึ่งให้เราสามารถโน้ตข้อความต่างๆ วางไว้บนเดสก์ท็อปได้สะดวก โดยเราสามารถเรียกใช้งาน Sticky Notes จากการพิมพ์ notes ที่ช่อง Search ก็จะเป็นการหาแอพพลิเคชั่น Sticky Note ให้เราเองโดยอัตโนมัติ และเราสามารถเปลี่ยนสีของกระดาษโน้ตได้ โดยการคลิกขวาที่ Sticky Note แล้วเลือกสีกระดาษโน้ตตามต้องการ? และหากต้องการเพิ่มกระดาษโน้ตก็สามารถคลิกที่เครื่องหมาย + บนกระดาษโน้ต และเมื่อต้องการปิดการใช้งาน Sticky Note ก็ให้กด Alt+F4 ก็จะเป็นการปิดการทำงานลง แต่จะเก็บข้อความทั้งหมดเอาไว้ ซึ่งเมื่อเปิดการทำงานขึ้นมาอีก ข้อความเดิมที่มีอยู่ก็จะปรากฏขึ้นมาเหมือนเดิม
Sticky Notes

อุปกรณ์ต่อพ่วง

อุปกรณ์รับเข้า (Input Device) 
ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รับเข้าที่เป็นที่
รู้จักและนิยมใช้ได้แก่

 
แป้นพิมพ์ ( Keyboard )  เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกเครื่องจะต้องมีการรับข้อมูลคือ ผู้ใช้กดแป้นพิมพ์แล้วจึงแปลงรหัสเข้าสู่การประมวลผลต่อไป




 
เมาส์ (Mouse)  เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น เมาส์จะมีรูปร่างพอเหมาะกับมือ และมีลูกกลิ้งอยู่ข้างล่าง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของลูกกลิ้ง และรับคำสั่งจากการกดปุ่มเมาส์

 

 

 
สแกนเนอร์ (Scanner)  จะทำงานโดยการอ่านรูปภาพ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าใจได้

 


 
5.5 อุปกรณ์ส่งออก (Output Device)
 
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน   ได้แก่

 
จอภาพ (Monitor)  เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่ผู้ใช้คุ้นเคยมากที่สุด ใช้แสดงผลในรูปของข้อความและรูปภาพ เริ่มแรกนั้นมีการนำเอาโทรทัศน์มาเป็นจอภาพสำหรับการแสดงผล แต่ผลที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก จึงมีการผลิตจอขั้นมาจอภาพนั้นมีหลายลักษณะซึ่งลักษณะที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คุ้นเคยและพบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่
 

 
           จอภาพแบบซีอาร์ที ( Cathode ray tube : CRT )
 
จะมีลักษณะจอโค้งนูน ลักษณะการแสดงผลนั้นเริ่มแรกแสดงผลได้เฉพาะเป็นตัวอักษรเท่านั้น แต่จะมีความละเอียดสูงเรียกว่า จอภาพแบบสีเดียว (Monochrome Display Adapter :MDA ) ต่อมามีการพัฒนาจอสี (Color Graphic Adapter : CGA) ซึ่งสามารถแสดงภาพสีและภาพกราฟิกได้ แต่จะแสดงตัวอักษรและตัวเลขได้ไม่ดีเท่าจอแบบสีเดียว จอรุ่นต่อมาที่สามารถแสดงภาพกราฟิกได้ละเอียด และมีจำนวนสีมากขึ้นเรียกว่า จอสีภาพละเอียด ( Enhance Graphic Adapter: EGA )
 



 
ส่วนจอสีภาพละเอียดพิเศษ (Video Graphic Array: VGA) เป็นจอภาพที่มีความละเอียดสูงมาก ปัจจุบันจอภาพที่ใช้สำหรับงานคอมพิวเตอร์ในด้านการออกแบบจะใช้จอภาพ เอ็กซ์วีจีเอ (eXtra Video Graphic Array : XVGA)  
         จอภาพแบบแอลซีดี ( Liquid Crystal Display: LCD )
 
เดิมเป็นจอภาพที่ใช้กับเครื่องคิดเลขและนาฬิกา แต่ปัจจุบันจะพบได้ในเครื่อง PC แบบพกพา เช่น โน้ตบุ้คหรือแล็ปท็อป จอภาพแบบนี้จะมีลักษณะแบนเรียบและบาง และได้พัฒนาให้การแสดงผลมีความละเอียดและได้ภาพที่ชัดเจน
 
 
เครื่องพิมพ์ (Printers)  ถือเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สำคัญรองลงมาจากจอภาพ เพราะจะแสดงผลลัพธ์ลงบนกระดาษทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ( อุปกรณ์ที่สามารถเก็บผลที่แสดงออกมาได้ เราเรียกว่า Hard copy ส่วนจอภาพจะเป็น Soft copy ) ลักษณะของเครื่องพิมพ์ที่ใช้กันในปัจจุบันได้แก่

 

        เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot-Matrix Printers)
 
            คุณภาพของงานพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ ชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนจุดของเครื่อง เพราะผลที่ได้จากการพิมพ์จะมีลักษณะเป็นจุด เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีราคาถูกเหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก เครื่องพิมพ์แบบจุดนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบกระทบ
( impact printer ) คือ เวลาพิมพ์หัวพิมพ์จะกระทบกับผ้าหมึก
 


 

 

        เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Inkjet Printer)
 
           หลักการทำงานคือการฉีดหมึกลงบนกระดาษเป็นจุดเล็ก ๆ เพื่อให้ได้รูปแบบงานพิมพ์ที่ต้องการ งานพิมพ์ที่ได้จะมีความละเอียดกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุดมาก เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ ( Non - impact printer ) เพราะเครื่องพิมพ์แบบนี้ทำงานโดยไม่ต้องใช้แถบผ้าหมึก
 

 
        เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer)
 
            หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์แบบนี้ จะใช้หลักการเดียวกันกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสงเลเซอร์ในการพิมพ์เรียกว่า LED ( Light-Emit-ting Diode) และ LCS (Liquid Crystal Shutter) ซึ่งจะพิมพ์งานออกทีละหน้า เราเรียกงานพิมพ์แบบนี้ว่า ppm ( Page per minute ) ทั้งงานพิมพ์ที่ได้ก็มีคุณภาพสูงและคมชัดมาก เวลาพิมพ์ก็ไม่ส่งเสียงดังรบกวน เครื่องพิมพ์แบบนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ ( Non - impact printer ) เช่นกัน
 


 
        พล็อตเตอร์ (Plotter)
 
              เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มักจะใช้ในงานเขียนแบบ หรืองานด้านกราฟิก เช่นพิมพ์เขียว การพิมพ์แผนผังขนาดใหญ่ แผนที่ หัวพิมพ์จะทำงานเป็นเหมือนปลายปากกา ลักษณะงานพิมพ์จะเป็นงานที่ซับซ้อนและใช้กระดาษแผ่นใหญ่ ๆ ในการพิมพ์


 
5.6 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ
 
           โมเด็ม ( Modem) ย่อมาจาก Modulator-DEModulator ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูล
ประโยชน์ของโมเด็มเพื่อใช้ในการสื่อสารระยะไกลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ต้องอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์ในการสื่อสารด้วย อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลของโมเด็มมีหน่วยเป็นบิตต่อวินาที โมเด็มสามารถรับและส่งได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความ ภาพและเสียง ลักษณะของโมเด็มมี 2 แบบคือ

           
แบบ Internal คือ เป็นแผงวงจรเสียบเข้าภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
 
                        แบบ External คือ เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อภายนอกกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบนี้จะมีราคาสูงกว่าแบบ Internal