วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

นายธนภัทร ปรีชานุกูล


สาระสำคัญ
รูปแบบการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก เครื่องหมายในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ประเภทของคำสั่งในภาษาเบสิก
จุดประสงค์ปลายทาง
เข้าใจรูปแบบ ประเภทคำสั่งและเครื่องหมายที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมได้
จุดประสงค์นำทาง
1. อธิบายรูปแบบของคำสั่งในการเขียนโปรแกรมได้
2. อธิบายวิธีการและคำสั่งการเขียนโปรแกรมได้
3. นักเรียนสามารถเลือกใช้คำสั่งในการเขียนโปรแกรมได้ถูกต้อง
เนื้อหา
โปรแกรมภาษาเบสิก จัดเป็นภาษาโปรแกรมระดับสูง แต่เป็นภาษาที่มีเทคนิควิธีการและรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายไม่ซับซ้อน จึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม ซึ่งองค์ประกอบในการเขียนโปรแกรมจะประกอบด้วย
1. ค่าคงที่ (Constants)
2. ตัวแปร (Variable)
3. นิพจน์ (Expression)
แต่องค์ประกอบของโปรแกรมที่สำคัญยังต้องประกอบไปด้วย รูปแบบในการเขียนโปรแกรมและคำสั่ง เฉพาะสำหรับการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา ซึ่งรูปแบบและคำสั่งของโปรแกรมภาษาเบสิกก็จะมีรูปแบบเฉพาะเป็นของตนเองเช่นกัน
รูปแบบการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก
การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกจะมีรูปแบบเป็นของตนเอง ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างง่ายต่อการเข้าใจ เนื่องจากลักษณะการใช้ตัวอักษรและอักขระที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจการทำงานของโปรแกรมได้ รูปแบบการเขียนได้แก่
1. การเขียนโปรแกรมแบบมีหมายเลขบรรทัด (Line Number) ใช้หมายเลขสำหรับกำหนดลำดับของคำสั่ง โดยใช้หมายเลขกำกับหน้าคำสั่งในแต่ละบรรทัด เช่น
10 LET A = 10
20 LET B = 5
30 LET C = A+B
2. สำหรับการพิมพ์บรรทัด จะพิมพ์บรรทัดใดก่อนก็ได้ เครื่องจะทำงานเรียงหมายเลขบรรทัดจากน้อยไปหาหมายเลขบรรทัดมาก ในกรณีหมายเลขซ้ำกันโปรแกรมจะถือเอาคำสั่งในหมายเลขที่พิมพ์หลังสุด
3. การทำงานของโปรแกรมจะทำงานตามหมายเลขบรรทัด โดยจะทำงานจากหมายเลขบรรทัดน้อยไปหามาก
4. กรณีที่กำหนดหมายเลขบรรทัดในโปรแกรม จะต้องกำหนดหมายเลขให้มีระยะห่างกันพอสมควรเพื่อที่จะแทรกหมายเลขเพิ่มเติม
5. การเขียนโปรแกรมจะกำหนดให้เป็นตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ก็ได้ ซึ่งโปรแกรมจะเปลี่ยนให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่โดยอัตโนมัติ
6. การทำงานของคำสั่งโปรแกรมจะทำจากซ้ายไปขวา
7. การเขียนโปรแกรมสามารถรวมคำสั่งหลายคำสั่งเอาไว้บรรทัดเดียวกันได้ โดยการใช้เครื่องหมาย (;)
เครื่องหมายในการเขียนโปรแกรม
1. เครื่องหมายโคลอน (Colon) เป็นเครื่องหมายสำหรับการเชื่อมคำสั่งซึ่งเราได้ทำหลาย ๆ คำสั่งต่อกัน
2. เครื่องหมายจุลภาคหรือคอมมา (Comma “,”) ในกรณีคำสั่ง PRINT เป็นการสั่งแบ่งระยะโดยจะทำให้ระยะระหว่างข้อมูลที่จะแสดงผลที่จอภาพถูกจัดแบ่งเป็นระยะเท่า ๆ กัน
3. เครื่องหมายอัฒภาค หรือ เซมิโคลอน (Semicolon “;”) เมื่อแสดงผลที่จอภาพข้อมูลจะถูกพิมพ์ต่อเนื่องกัน
ประเภทคำสั่งในภาษาเบสิก
1. คำสั่งสำหรับรับและส่งข้อมูล 
คือ กลุ่มคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อรับข้อมูลเข้าไปทำการประมวลผลในโปรแกรมและกลุ่มคำสั่งที่สั่งให้โปรแกรมแสดงผลที่อุปกรณ์ประกอบคำสั่งเหล่านี้ได้แก่
1.1 คำสั่ง INPUT เป็นคำสั่งที่รับข้อมูลโดยการป้อนผ่านแป้นพิมพ์ เพื่อให้โปรแกรมรับทราบว่าใส่ข้อมูลใด เมื่อเวลาแสดงผลจะแสดงเครื่องหมายคำถาม เพื่อป้อนข้อมูลที่ต้องการต่อท้ายเครื่องหมายคำถาม
1.2 คำสั่ง PRINT เป็นคำสั่งในภาษาเบสิก เพื่อแสดงผลของข้อมูลที่โปรแกรมสั่งให้ทำงานออกทางจอภาพ
1.3 คำสั่ง LPRINT เป็นคำสั่งในภาษาเบสิก ที่แสดงผลของข้อมูลที่โปรแกรมสั่งออกทางเครื่องพิมพ์
2. คำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดค่าให้กับตัวแปรและการตั้งสมการคำนวณ
2.1 คำสั่ง LET เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดค่าคงที่ให้กับ ไม่ว่าเป็นตัวแปรแบบอักขระหรือตัวแปรแบบตัวเลข และใช้ตั้งสมการทางคณิตศาสตร์
3. คำสั่งในการคำนวณ
ลักษณะของคำสั่งประเภทนี้จะอยู่ในรูปของเครื่องหมาย แสดงแทนเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ จะใช้ประกอบกับคำสั่งประเภทอื่น ๆ 
4. คำสั่งสำหรับการควบคุม

ลักษณะของคำสั่งในการควบคุม เป็นการสั่งในแบบกำหนดเงื่อนไข และแบบไม่มีเงื่อนไขรวมถึงคำสั่งควบคุมการวนซ้ำ
4.1 คำสั่งแบบมีเงื่อนไข ได้แก่ IF/THEN/ELSE DO..LOOP WHILE..WEND
4.2 คำสั่งแบบไม่มีเงื่อนไข ได้แก่ GO,GOSUB
1.3 คำสั่งควบคุมการวนซ้ำ คือ คำสั่งที่ควบคุมการกระทำซ้ำ ได้แก่ FOR/NEXT
5. คำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบ
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดการวางรูปแบบของการแสดงผลโปรแกรม บางครั้งก็จะอยู่ในรูปเครื่องหมาย ใช้ร่วมกับคำสั่งทั่วไป
6. คำสั่งฟังก์ชัน
เป็นกลุ่มคำสั่งประเภทหนุ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ โดยคำสั่งประเภทนี้จะมีค่าฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
7. คำสั่งทั่วไป
NEW เป็นคำสั่งลบโปรแกรมและค่าตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ โดยจะลบหล้าจอทั้งหมดก่อนที่จะเขียนโปรแกรมใหม่
REM เป็นคำสั่งที่ใช้ในการหมายเหตุ
END เป็นคำสั่งให้หยุดการทำงานของโปรแกรม
CLS เป็นคำสั่งให้ลบหน้าจอใหม่ โดยไม่แสดงผลเดิม

กิจกรรมประกอบการเรียน

1. ให้นักเรียนศึกษารวบรวมคำสั่งประเภทต่าง ๆ สำหรับโปรแกรม BASIC ตั้งแต่ A – Z โดยดูจากเมนูหลัก HELP ในเมนูย่อย CONTENT จากนั้นบอกว่าเป็นคำสั่งในกลุ่มใด ได้แก่
1.1 STATEMENT
1.2 FUNCTION
1.3 KEYWORD
1.4 OPERATION
1.5 MATACOMMAND
2. ให้นักเรียนแยกประเภทของคำสั่งเฉพาะกลุ่มที่เป็น FUNCTION และกลุ่มที่เป็น STATEMENT
3. ให้นักเรียนเข้าไปยัง HELP ของ BASIC เข้าไปยัง CONTENT จากนั้นเลื่อน CURSOR ไปยังคำสั่งต่าง ๆ กด ENTET จะพบคำอธิบายคำสั่งเป็นภาษาอังกฤษ แบ่งคำสั่งประเภทต่าง ๆ นำไปแปลคนละอย่างน้อย 5 คำสั่ง

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิธีใช้หรือสมัคร blogger

การสมัคร Blogger

สิ่งแรกที่ต้องมีในการสมัคร Blogger คือ E-mail ของ Gmail เท่านั้นครับ ซึ่งในส่วนของการสมัคร E-mail คงจะนำมาสอนเป็นขั้นเป็นตอนเพราะมันง่ายมากครับ


เพื่อนๆที่สมัคร Gmail เรียบร้อยแล้ว สามารถทำตามวิธีดังต่อไปนี้เลยครับในการสมัคร Blogger มาใช้งานกัน
1. สามารถเปลี่ยนภาษาทางด้าน ขวาบน ได้หลากภาษาครับ จากนั้นคลิ๊กที่สร้างบล๊อกดังรูปครับ


2. ตั้งชื่อส่วนหัวของบล๊อก ตั้งชื่อบล๊อก จากนั้นก็ คลิ๊กดำเนิกการต่อ
ดังรูปครับ


3. เลือกแม่แบบ หรือ Theme (หน้าตาบล๊อก) จากนั้น คลิ๊ก ดำเนินการต่อ
ดังรูปครับ


4. เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ คลิ๊ก เริ่มต้นการเขียนบล๊อก ได้ทันทีเลย
ดังรูปครับ


ง่ายมากๆ เลยใช่ไหมครับ ก่อนที่เพื่อนๆจะเริ่มเขียนบล๊อก ผมแนะนำให้เพื่อนๆศึกษาการใช้งานให้เข้าใจก่อนนะครับ เพื่อทำความเข้าใจและเริ่มต้นสร้างบล๊อกได้อย่างไม่ติดขัดครับ สิ่งที่เพื่อนๆจะต้องศึกษามีดังนี้ครับ อ่านต่อ เรื่องแผงควบคุม (Dashboard)

Control Panel Windows7

Control Panel Windows 7

Control Panel

control-panel
 
ข้ามมาที่ฟีเจอร์คู่บุญของวินโดวส์อย่าง Control Panel กันบ้าง ช่วงหลังๆ (ถ้าจำไม่ผิดตั้งแต่ XP) ไมโครซอฟท์หันมาเรียงตัวเลือกใน Control Panel ตามหมวดหมู่ ผลที่ตามมาคือ "หาอะไรไม่ค่อยเจอ" ซึ่ง Windows 7 ก็มีชะตากรรมไม่ต่างกันสักเท่าไร

control-panel-small-icon
 
หลายคนแก้ปัญหาโดยการปรับให้มันแสดงแบบไอคอน แต่หลังๆ นี่คงไม่ไหวแล้วมั้ง ตอนนี้ Control Panel ของ Windows 7 มีตัวเลือกเกือบ 50 อัน เรียงยังไงก็คงดูยาก

control-panel-search
 
ทางแก้คือ search มันเลยครับ เดี๋ยวนี้เขาพัฒนาแล้ว หาอะไรก็เจอ จากภาพจะเห็นว่าผลการค้นหาไม่ได้แสดงเฉพาะไอคอน แต่แสดงตัวเลือกที่อยู่ในไอคอนแต่ละอันของ Control Panel ให้ด้วย
ฟีเจอร์นี้คู่แข่งอย่าง Mac OS X ทำได้ใน 10.4 Tiger พร้อมกับฟีเจอร์ Spotlight ฝั่งวินโดวส์เริ่มทำได้ตอน Vista ตอนแรกยังไม่สมบูรณ์ทั้งคู่ (ค้นไม่ค่อยเจอ, ช้า) แต่ตอนนี้เข้าสู่สถานะที่ใช้งานได้จริงแล้ว
Control Panel ของ Windows 7 เพิ่มตัวเลือกใหม่ๆ ให้อีกหลายอัน เช่น Location and Other Sensors, Credential Manager, Biometric Devices ซึ่งผมคงไม่กล่าวถึงในรีวิวชุดนี้

วิธีใช้Control panel

Control Panel Windows XP

ปัญหาหลัก ๆ ที่มีถามกันมาก สำหรับผู้ใช้งาน Windows XP ก็คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถใช้งานปุ่ม Grave Accent ( ` ) หรือปุ่ม ตัวหนอน ( ~ ) ในการสลับภาษา ไทย - อังกฤษ ได้ หลังจากที่ได้ทำการติดตั้ง Windows XP เรียบร้อยแล้ว มาดูขั้นตอนการตั้งค่าให้สามารถใช้ปุ่มสลับภาษากันดีกว่า
เริ่มต้นการตั้งค่า ก่อนอื่น คุณจะต้องมีแผ่นซีดีติดตั้ง Windows XP ใส่เข้าไปใน CD-ROM Drive ก่อนนะคะ เพราะจะต้องใช้ ในการเพิ่มภาษา และการกำหนดให้ใช้ปุ่ม ( ~ ) ในการสลับภาษาคะ เมื่อเปิดเครื่องเข้า Windows XP เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเปิด Control Panel โดยเลือกที่ Start Menu และ Control Panel
 ทำการดับเบิลคลิกที่ Regional and Language Options เพื่อตั้งค่าและเลือกภาษาของเครื่อง
คลิกที่ป้าย Languages และติกถูกที่ช่อง Install files for complex... ตามภาพข้างบนค่ะ จากนั้นกดที่ปุ่ม Apply
ระบบจะทำการ copy ข้อมูลจากแผ่นติดตั้ง Windows XP (ต้องใส่แผ่นติดตั้ง Windows XP ไว้ด้วยนะคะ)่
รอสักพักจนเสร็จ จากนั้นก็ทำการ Restart เครื่องใหม่อีกครั้ง กดที่ Yes เพื่อ Restart เครื่องใหม่ก่อน
หลังจากที่ Restart เครื่องมาแล้ว ก็เข้า Control Panel และ Regional and Language Options เหมือนขั้นตอนแรก ทำการเปลี่ยนช่อง Location และ Standard and format ให้เป็น Thailand กับ Thai ตามภาพข้างบน แล้วกดที่ปุ่ม Apply
เลือกที่ป้าย Advanced เปลี่ยนที่ช่อง Language for non-Unicode programs ให้เป็น Thai แล้วกด Apply
  คลิกที่ป้าย Languages อีกครั้ง แล้วกดเลือกที่ปุ่ม Details... ค่ะ
จะเห็นว่ามีภาษาเป็น 2 ภาษา กดเลือกที่ปุ่ม Key Settings...
กดที่ปุ่ม Change Key Sequence... เพื่อเลือกให้ใช้ปุ่ม Grave Accent ค่ะ
เลือกที่ Grave Accent ( ` ) แล้วกด OK กลับไปหน้าหลัก จากนั้นก็กด OK OK OK ไปเรื่อย ๆ เท่านี้ก็เสร็จขั้นตอนของการ ตั้งค่าให้ใช้ปุ่ม Grave Accent สำหรับเปลี่ยนสลับภาษาค่ะ